กลับไปหน้า เกร็ดน่ารู้

แจกสูตร ไอศกรีม สไตล์โบราณ & โมเดิร์น จากริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้ง

ริชส์ชวนมาทำ ไอศกรีม 2 สไตล์ สูตรโบราณและสูตรโมเดิร์น ด้วยสูตรจากเชฟผู้เชี่ยวชาญจากริชส์ รังสรรค์ด้วย ริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้ง วิปปิ้งครีมแดรี่เบลนด์จากริช โปรดักส์ ที่ให้ความอร่อยแบบครีมนมธรรมชาติ ไม่เติมน้ำตาล ทำให้แต่งรสชาติได้ตามต้องการ ช่วยเพิ่มความหอมมันและให้ความอร่อยสไตล์แดรี่ เหมาะสำหรับการนำมาทำเมนูไอศกรีมหลากหลายรสชาติ

ไอศกรีม

ไอศกรีมมาจากไหน ?  

ไอศกรีมมีประวัติยาวนานนับพันปี เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดจากจีนในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้หิมะผสมกับนมและน้ำผึ้ง ต่อมาในสมัยโรมัน จักรพรรดิเนโรได้นำหิมะจากภูเขามาผสมกับผลไม้และน้ำผึ้งเพื่อทำของหวานคล้ายไอศกรีม 

จนกระทั่งในปี 1660  Sicilian Procopio ได้ทำไอศกรีมที่น่าจะเป็นต้นตำรับของไอศกรีมในปัจจุบันนี้ โดยใช้ส่วนผสมของไข่ ครีมนม และเนยทำเป็นไอศกรีม และจัดจำหน่ายเป็นครั้งแรกที่ Café Procope ในกรุงปารีส ซึ่งในเวลาต่อมาเมนูของหวานชนิดนี้ก็เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย 

สำหรับจุดเริ่มต้นของไอศกรีมในประเทศไทย คาดว่าน่าจะเข้ามาในช่วงประมาณสมัยรัชกาลที่ 5  คนไทยเรียกไอศกรีมว่า “ไอติม” ในช่วงแรกๆ ไอศกรีมไทยทำจากน้ำมะพร้าวผสมกับน้ำแข็ง และเสิร์ฟให้กับชนชั้นสูงเท่านั้น ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ไอศกรีมก็เข้าถึงคนทั่วไปได้มากขึ้นและมีการปรับปรุงรสชาติและใส่ส่วนผสมต่างๆ ที่หลากหลายยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักไอศกรีมแต่ละประเภท

ไอศกรีมแต่ละประเภทมีสัดส่วนของไขมันที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลต่อรสชาติและเนื้อสัมผัสของไอศกรีมประเภทนั้นๆ  โดยประเภทที่พบได้บ่อยมักจะมีวิปปิ้งครีมเป็นส่วนผสม ได้แก่ ไอศกรีม (Ice-cream) และเจลาโต (Gelato) ซึ่งจะมีความพรีเมี่ยมที่สุด เนื่องจากมีความเป็นแดรี่และไขมันเยอะ ช่วยให้เนื้อไอศกรีมมีความหนืดมากขึ้น อยู่ตัวได้นาน และละลายช้า

ตามมาด้วย Sherbet ซึ่งอยู่ในระดับกลางๆ มีเนื้อสัมผัสที่เป็นมาตรฐานของไอศกรีม และประเภทสุดท้ายคือซอฟต์เสิร์ฟ (Soft serve) ไอศกรีมประเภทนี้จะมีความเป็นน้ำสูง ละลายไว 

สำหรับไอศกรีมประเภทที่ไม่มีวิปปิ้งครีมเป็นส่วนผสม คือซอร์เบท (Sorbet) ซึ่งจะคล้ายกับน้ำผลไม้ปั่นแบบแช่แข็งเท่านั้น ไม่มีความเป็นนมหรือไขมันผสม

 

ทำไมต้องมีวิปปิ้งครีมในไอศกรีม ? 

  • เพิ่มความ Premium ทำให้ดูสวยงามและน่ารับประทานมากขึ้น 
  • เพิ่มความครีมมี่ ทำให้ไอศกรีมมีความเนียนนุ่มมากขึ้น 
  • ช่วยกักอากาศ การตีครีมให้ฟูจะทำให้อากาศเข้าไปในเนื้อครีม ทำให้วิปปิ้งครีมมีความฟูเบา 
  • เติมความเข้มข้นให้กับรสชาติ ทำให้ไอศกรีมมีความหอมมัน ละมุนมากขึ้น และสร้างความหลากหลายให้รสชาติไอศกรีม 

 

สำหรับวิปปิ้งครีมสำหรับการทำไอศกรีม ริชส์ขอแนะนำ ริชส์ ไนแองารา ร์ม เฟรช มิลค์ ทอปปิ้ง วิปปิ้งครีมแดรี่เบนด์ ผสมนมสแท้ อยู่ตัวได้ดี ตีขึ้นฟูได้ 3.7 เท่า ใช้งานง่ายจะตี ปาด ตกแต่ง หรือใช้เป็นส่วนผสมขนมหวานก็อร่อยลงตัวทุกเมนู ให้รสครีมนมธรรมาติ แต่งรสได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับการนำมาทำเมนูไอศกรีมหลากหลายรสชาติ

 

แจกสูตรไอศกรีม 2 สไตล์

วันนี้ริชส์มาแจกสูตรไอศกรีมรสชาติวานิลลา ที่มาพร้อมกัน 2 สูตร คือ สูตรรสดั้งเดิมและสูตรสไตล์โมเดิร์น มาเริ่มทำกันได้เลย

ไอศกรีมวานิลลา สไตล์โบราณ

ไอศกรีม

ส่วนผสม

นมจืด  250 กรัม 

ริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้ง 250 กรัม 

ไข่แดง  120 กรัม 

น้ำตาลทรายขาว 100 กรัม  

น้ำตาลเดกซ์โทรส 20 กรัม  

เกลือ 0.5 กรัม 

กลิ่นวานิลลา 1 กรัม 

ต้นทุนรวม  62.89 บาท  ต้นทุนต่อตัก  7. 21 บาท 

วิธีทำ

  1. เทนมจืดและริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้งลงในหม้อ แล้วตั้งไฟอ่อนจนส่วนผสมเริ่มอุ่นขึ้น 
  2. ผสมไข่แดง น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลเดกซ์โทรส เกลือ และกลิ่นวานิลลา ในชามผสม ตีไข่แดงกับน้ำตาลทรายจนสีอ่อนลงและเนื้อเนียน  
  3. ค่อยๆ เทนมอุ่นลงในไข่แดงทีละน้อย พร้อมคนตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่สุกเป็นลิ่ม  
  4. เทส่วนผสมกลับลงหม้อ ตั้งไฟอ่อน-ปานกลาง พายไม้หรือพายซิลิโคนกวนตลอดเวลาจนซอสข้นขึ้น (อุณหภูมิประมาณ 80-85°C)  
  5. กรองซอสผ่านกระชอนเพื่อให้เนื้อเนียนลงในชาม วางชามลงบนอ่างน้ำแข็ง  
  6. คนซอสเบาๆ จนเย็นลง เพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อน จนซอสเย็นสนิท นำไปแช่ตู้เย็น 4 ชั่วโมง  
  7. นำไปปั่นในเครื่องปั่นผลไม้ด้วยความเร็วปานกลางประมาณ 1 นาที  
  8. เทส่วนผสมลงในเครื่องทำไอศกรีม ปั่นจนไอศกรีมแข็งตัว จากนั้นนำไปแช่เย็น ประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วจึงพร้อมเสิร์ฟ 

 

Tips 

  1. ใส่ฝักวานิลลาเพิ่มความหอมและรสชาติที่เข้มข้นและพรีเมี่ยมมากขึ้น 
  2. ควรรักษาอุณหภูมิไม่ให้สูงจนเกินไปในขณะที่กวนส่วนผสมไปพร้อมๆ กับไข่ เพราะไข่อาจจะสุกเป็นไข่ข้นได้ 

ไอศกรีมวานิลลา สไตล์โมเดิร์น

ไอศกรีม

ส่วนผสม 

เบสนม  15 กรัม 

น้ำตาลทรายขาว  50 กรัม  

น้ำตาลเดกซ์โทรส  10 กรัม 

น้ำตาลกลูโคส  20 กรัม 

เกลือ  0.5 กรัม 

Integra Latte (สารเสริม)  10  กรัม 

หางนมผง  15  กรัม 

นมจืด  265  กรัม 

ริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้ง  125 กรัม 

กลิ่นวานิลลา  3 กรัม 

อิมัลซิไฟเออร์  1  กรัม 

ต้นทุนรวม 168.99 บาท  ต้นทุนต่อตัก  28. 36 บาท 

วิธีทำ

  1. ผสมส่วนของแห้ง (เบสนม ,น้ำตาลทรายขาว ,น้ำตาลเดกซ์โทรส ,น้ำตาลกลูโคส ,Integra Latte และหางนมผง) ทั้งหมดลงในชามผสม บี้ด้วยพายยาง ให้ส่วนผสมรวมกัน 
  2. ผสมส่วนผสมของเหลว (นมจืด, ริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้งและกลิ่นวานิลลา) ลงในชามผสมอีกใบ ใช้ตะกร้อมือผสมให้เข้ากัน  
  3. เทส่วนผสมของเหลวลงไปในส่วนผสมของแห้ง ผสมให้เข้ากัน ใส่อิมัลซิไฟเออร์ลงไปผสม 
  4. นำไปปั่นในเครื่องปั่นผลไม้ด้วยความเร็วปานกลางประมาณ 1 นาที  
  5. เทส่วนผสมลงในเครื่องทำไอศกรีม ปั่นจนไอศกรีมแข็งตัว จากนั้นนำไปแช่เย็น ประมาณ 2-3 ชั่วโมงก็พร้อมเสิร์ฟ
     

Tips 

  1. ผู้ประกอบการจะใส่วิปปิ้งครีม เช่น ริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้ง ในไอศกรีมเพื่อทดแทนนมบางส่วน การเพิ่มวิปปิ้งครีมลงไปด้วย จะช่วยให้ไอศกรีมมีรสชาติอร่อยหวานมัน   
  2. การเติมสารเสริมช่วยให้ไอศกรีมเซตตัว ทำให้น้ำและไขมันรวมตัวกันได้ดี ปรับปรุงเนื้อสัมผัสและคุณภาพให้มีเนื้อเนียน น่ารับประทาน
  3. การใส่ผลไม้หรือทอปปิ้งต่างๆ ลงไปด้วย จะช่วยเพิ่มมูลค่าและความสวยงามให้กับเมนูไอศกรีมได้เป็นอย่างดี

ช่องทางการจัดจำหน่าย

ริชส์ เฟรช มิลค์ ทอปปิ้ง หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ทั่วประเทศ และสามารถสั่งซื้อกับ ริชส์ได้โดยตรง สอบถามได้ที่เพจ Rich Products Thailand

ช่องทางออนไลน์สำหรับสั่งซื้อ

– LINE SHOPPING >>bit.ly/linemyshop-post-fb

– Shopee >> bit.ly/shopee-post-fb

– Lazada >> bit.ly/lazada-post-fb

ดาวน์โหลดบทความ
ภาพรวมความเป็นส่วนตัวและสิทธิ์ของคุณ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้เราสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดแก่คุณได้ ข้อมูลคุกกี้จะถูกเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณและทำหน้าที่ต่างๆเช่นจดจำคุณได้เมื่อคุณกลับมาที่เว็บไซต์ของเราและช่วยให้ทีมของเราเข้าใจว่าส่วนใดของเว็บไซต์ที่คุณคิดว่าน่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สุด

สิทธิที่จะได้รับแจ้ง
สิทธิในการได้รับแจ้ง [มาตรา 23] เป็นสิทธิสำหรับพลเมืองไทยที่จะได้รับแจ้งเกี่ยวกับการรวบรวมและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาในขณะที่ทำการรวบรวม องค์กรที่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลแก่บุคคลเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังติดตามวัตถุประสงค์ของการติดตามและบุคคลที่จะแบ่งปันข้อมูลด้วย

สิทธิ์ในการเข้าถึง
สิทธิ์ในการเข้าถึง [มาตรา 30] หรือที่เรียกว่าการเข้าถึงหัวเรื่องทำให้แต่ละบุคคลมีสิทธิที่จะได้รับสำเนาข้อมูลที่องค์กรเก็บไว้ เมื่อองค์กรได้รับคำขอเรื่องจะต้องให้ข้อมูลเจ้าของข้อมูลเช่นวัตถุประสงค์ของการประมวลผลและประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม

สิทธิในการแก้ไข
ตามมาตรา 35 ของ PDPA บุคคลมีสิทธิ์ที่จะขอให้แก้ไขข้อมูลของตนรวมถึงการแก้ไขข้อผิดพลาดและการอัปเดตข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

สิทธิ์ในการลบ
ภายใต้มาตรา 33 ของ PDPA บุคคลมีสิทธิที่จะลบข้อมูลส่วนบุคคลของตน อนุญาตให้ใช้เฉพาะในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือหากผู้ควบคุมข้อมูลไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ของการรวบรวมหรือใช้งานอีกต่อไป

สิทธิ์ในการ จำกัด การประมวลผล
มาตรา 34 ของ PDPA ให้สิทธิบุคคลในการ จำกัด การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตน หากผู้บริโภคใช้สิทธิ์นี้ธุรกิจสามารถจัดเก็บข้อมูลต่อไปได้ แต่ต้องไม่ใช้หรือประมวลผลข้อมูลนั้น

สิทธิ์ในการพกพาข้อมูล
สิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลทำให้บุคคลมีสิทธิ์ในการรับและถ่ายโอนข้อมูลไปยังตัวควบคุมหรือบริการอื่น

สิทธิ์ในวัตถุ
มาตรา 32 ของ PDPA ให้สิทธิ์แก่แต่ละบุคคลในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของตนเมื่อเข้าชมเว็บไซต์ของคุณและมีตัวเลือกให้ใช้ได้เสมอ